กรณีถังเก็บสารสไตรีนระเบิด – อันตรายจากปฏิกิริยาที่มีการคายความร้อนสูง (Thermal Runaway)
กรณีถังเก็บสารสไตรีนระเบิด แม้ว่ากรณีไฟไหม้ที่โรงงานหมิงตี้ยังไม่มีข้อสรุปถึงสาเหตุของการเกิดระเบิด แต่สำหรับกรณีเหตุระเบิดบริเวณถังเก็บสารสไตรีนโมโนเมอร์ (หรือสไตรีน) บนเรือ Stolt Groenland (2019) ได้มีรายงานสอบสวนอุบัติเหตุออกมาเมื่อเร็วๆนี้ โดยระบุสาเหตุของการเกิดระเบิดมาจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชั่นของสารสไตรีน (self-polymerization) ในถังเก็บ [1] ซึ่งปฏิกิริยานี้มีการคายความร้อนสูง (71 kJ/mol หรือ 681 kJ/kg) เมื่อสารสไตรีนที่เหลือได้รับความร้อนจนมีอุณหภูมิสูงขึ้น จะยิ่งเร่งปฏิกิริยาให้เกิดเร็วขึ้นเรื่อยๆจนนำไปสู่การเกิดระเบิด (auto-accelerate thermal runaway) ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันของสารสไตรีนเป็นแบบเติม (addition polymerization) คือการที่สไตรีนโมโนเมอร์มาเรียงต่อกันแบบในรูปที่ 2 ในการผลิตพอลิเมอร์ของสไตรีนในเชิงอุตสาหกรรมนิยมใช้กลไกในการเกิดปฏิกิริยาแบบ free radicals โดยมีสาร benzoyl peroxide เป็นสารเริ่มปฏิกิริยา (initiator) [3] แต่ในสภาวะที่ไม่มีสารเริ่มปฏิกิริยา (เช่นในถังเก็บ)…